Harley Davidson รถครุยเซอร์ที่มีเอกลักษณะเฉพาะตัวหลายอย่าง และสิ่งที่คนหลายๆ คนมักจะนึกได้คือ ความดิบ ความไม่ทันสมัย แต่รู้หรือไม่ว่าในยุคใหม่นี้ Harley ยัดเทคโนโนยีทันสมัยมาเต็มคัน ไม่แพ้รถมอเตอร์ไซค์แบรนด์อื่นๆ บนโลกนี้เลยนะ
Reflex Defensive Rider Systems (RDRS)
ชื่อเรียกระบบหรือเทคโนโลยีช่วยในการขับขี่ของ “ฮาลีย์ เดวิดสัน” คือระบบที่ผมแจกแจงในด้านล่างทั้งหมด มัดรวมเป็นแพคเกจให้ทำงานสัมพันธ์กับการใช้งานหรือเลือกใช้งานในขณะนั้น มีอะไรบ้างไปดู
Antilock Brake System (ABS)
ระบบเบรก ABS นั่นเอง ระบบนี้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานของรถมอเตอร์ไซค์ทุกยี่ห้อมาหลายปีแล้ว จะเรียกว่าเกือบทุกรุ่นก็ว่าได้ ไม่เว้นแม้แต่รถเล็กๆ รถใช้งาน ในประเทศไทยเรา และในรถ “ฮาร์ลีย์ เดวิดสัน” ก็เป็นอุปกรณ์มาตรฐานเช่นกันซึ่งในโมเดล 2020 จะมีติดมาจากโรงงานในรุ่น LiveWire, CVO, Touring, Police, Trike(สามล้อ) และใน Softail บางรุ่น
Cornering Enhanced ABS (C-ABS)
เป็นระบบที่ทำงานร่วมกับ ABS ระบบ C-ABS จะปรับแรงดันของน้ำมันเบรกสัมพันธ์กับมุมเอียงของรถ นคือใช้ในขณะรถเอียงแรงเบรกที่กระทำนั้นจะถูกคำนวณให้รถไม่เสียอาการ ให้รถสามารถลดความเร็วลงในในขณะอยู่ในมุมเอียงโดยไม่เสียอาการนั่นเอง
Electronic Linked Braking (ELB)
ระบบ Link เบรก คือเมื่อเบรกหน้าเบรกหลังจะทำงานด้วย หรือเบรกหลังเบรกหน้าก็จะทำงานด้วย แต่ๆๆ การทำงานมันฉลาดกว่านั้น คือระบบจะคำนวณแรงบีบหรือเหยียบเบรกก่อนจะกระจายไปที่เบรกหลังหน้าให้เหมาะสม รวมถึงคำนวณความเร็วในขณะนั้นด้วยนะ และการเหยียบเบรกหลังนั้นจะกระจายไปสั่งงานเบรกหน้าแค่คาลิเปอร์ฝั่งซ้ายเท่านั้น
Cornering Enhanced Electronic Linked Braking (C-ELB)
ง่ายๆ เลยคือการรวม 2 ระบบข้างบน (C-ABS และ ELB) เข้าด้วยกัน เป็น C-ELB ระบบจะคำนวณการกระจายแรงเบรกหน้าไปหลังหรือหลังไปหน้า พร้อมกับการคำนวณแรงดันน้ำมันที่จะส่งไปยังคาลิปเปอร์ทั้งหน้าและหลังไม่ว่าจะใช้เบรกหน้าหรือหลัง ให้เหมาะสมให้สัมพันธ์กัน ในโค้งหรือในขณะที่รถมีมุมเอียง
Cornering Enhanced Traction Control System (C-TCS)
ก็คือระบบ Traction Control นั่นล่ะครับ แต่ด้วยรถ Harley Davidson เป็นรถที่มีแรงบิดสูง มีกำลังของเครื่องยนต์มาก และด้วยที่เป็นรถ Cruiser การเข้าโค้งและเปิดคันเร่งออกจากโค้ง แรงบิดมีผลที่จะทำให้ล้อหลัง Over Spin มากๆ ระบบนี้จึงเข้ามาจัดการ เห็นผลชัดตอนเข้าโค้งหรือในขณะรถมีมุมเอียง รถก็จะมีความเกาะถนนมากขึ้นนั่นเอง
Drag-Torque Slip Control System (DSCS)
ระบบนี้ก็ไม่ต่างจาก Slipper Clutch มากนักในเรื่องของการทำงาน คือลดอาการของล้อหลัง(ล้อหลังหมุนช้ากว่าแรงเฉื่อยของรถ หรือล้อหลังล็อค) เมื่อลดความเร็วกระทันหันหรือเมื่อเชนเกียร์ลงต่ำในรอบสูง หรือในขณะอยู่บนพื้นลื่นๆ ระบบจะจัดการกับแรงบิดให้สัมพันธ์กันด้วย
Cornering Enhanced Drag-Torque Slip Control System (C-DSCS)
เป็นระบบที่เพิ่มขึ้นจากระบบด้านบน คือจะคำนวณแรงบิดแรงกระทำของเครื่องยนต์ที่มีต่อล้อหลังตอนลดเกียร์หรือลดความเร็ว ให้เหมาะสมกัน ไม่ให้ล้อหลังล็อคหรือเกิดการลื่นสไลด์ ในขณะที่กำลังเลี้ยวรถ หรือในขณะที่รถมีมุมเอียง
Vehicle Hold Control (VHC)
ระบบช่วยหยุดรถบนทางลาดชัน ระบบจะควบคุมแรงเบรกโดยจะใช้ได้ทั้งเบรกหน้าเบรกหลัง เมื่อเราจอดบนเนินและบีบเบรกค้างไว้ จนมีไฟเตือนบนเรือนไมล์ ก็สามารถปล่อยมือหรือปล่อยเท้าจากเบรกได้โดยที่รถไม่ไหล ระบบจะหยุดการทำงานเมื่อเราบีบเบรกซ้ำอีกครั้ง และไฟเตือนก็จะดับลง
Tire Pressure Monitoring System (TPMS)
แจ้งระดับแดงดันลมยางทั้งล้อหน้าและล้อหลังแบบเรียลไทม์ และจะเตือนเมื่อแรงดันลมยางต่ำ แสดงผลบนเรือนไมล์(มีบางรุ่น บางรุ่นเป็นอุปกรณ์ที่ต้องซื้อเพิ่มนะ)
H-D Connect Service
ปิดท้ายด้วยระบบที่เชื่อมต่อรถกับสมาร์ทโฟนผ่านแอพริเคชั่น สามารถเรียกดูข้อมูลต่างๆ ของรถ ตรวจสอบตำแหน่งของรถ แจ้งเตือนเมื่อมีการงัดแงะที่ตัวรถได้อีกด้วย
ระบบที่ว่ามามีติดรถเป็นมาตรฐานเป็นบางรุ่น บางรุ่นต้องซื้อเพิ่มนะครับ ไม่ต้องแปลกใจว่ารถที่ตัวเองซื้อมาไม่มีตามที่ผมเขียนไป แต่ก็เห็นได้ว่า ฮาลี่ย์ เดวิดสัน สมัยนี้ทันสมัยต่างจากสมัยก่อนโดยสิ้นเชิง … ฮาร์ลี่ย เดวิดสัน คือ ฮาร์ลี่ย์ เดวิดสัน ไม่ใช่มอเตอร์ไซค์ สายนี้เขาว่ามา
ทดสอบ Honda Goldwing 1800 โฉมล่าสุด คลิก
คลิปทดสอบ รีวิว คลิก